
ยิ่งเทคโนโลยี Cloud Computing เติบโตเร็วเท่าไหร่ การพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ หรือการย้าย Service ต่างๆ ไปใช้งานผ่านทางออนไลน์ก็ยิ่งง่ายและเร็วขึ้นเท่านั้น ได้ทีให้เหล่าเกมเมอร์ดีอกดีใจ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์สเป็กสูงๆ กับการ์ดจอราคาแพงสำหรับเล่นเกมอาจหมดความจำเป็น เมื่อระบบการประมวล ผลเกมมันไปอยู่บน Cloud Server กันหมดแล้ว
Cloud Gaming มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ File Streaming ที่ User สามารถเข้าเล่นเกมได้ทันทีแม้ตัวเกม จะยังดาวน์โหลดไม่เสร็จ โดยพึ่ง Cloud ประมวลผลเสริมการทำงานระหว่างที่รอการดาวน์โหลด และอีก แบบหนึ่งคือ Video Streaming ซึ่งเหมือนกับระบบ Video Streaming หรือ Music Streaming ที่จะส่ง ไฟล์ภาพวิดีโอหรือเสียงที่ประมวลผลในเครื่องต้นทางสำเร็จแล้วมายังเครื่องรับปลายทาง พอมีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในปัจจุบันก็ทำให้การส่งข้อมูลส่วนนี้เป็นไปอย่างสบายๆ นอกจากนี้ User ยังไม่ต้องดาวน์โหลดเกมมาติดตั้งให้เปลืองพื้นที่ในเครื่องตัวเองอีกด้วย
ทั้งนี้บริษัทผู้ผลิตการ์ดจอชั้นนำอย่าง Nvidia ก็ให้ความสำคัญกับ Cloud Gaming มากขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้ จากการเปิดตัว Nvidia SHIELD ที่มาพร้อม Nvidia GeForce Now ไว้รองรับ GaaS อย่างเต็ม ประสิทธิภาพ โดยทาง Nvidia เคลมประสิทธิภาพของ Nvidia SHIELD ว่าสามารถรันเกมระดับ AAA (เกมฟอร์มใหญ่ เช่น GRID Motorsport เป็นต้น) ที่ความละเอียด Full HD พร้อมเฟรมเรท 60 เฟรมต่อวินาที ได้ไม่แพ้คอมพิวเตอร์ PC ประสิทธิภาพสูงเลยแม้แต่น้อย
ในแง่ของค่าบริการรายเดือนก็ถือว่าไม่แพงนัก Nvidia มีเกมระดับ AAA ให้บริการร่วม 60 เกมกับค่า บริการ 7.99 เหรียญ (ราว 280 บาทต่อเดือน) นับว่าเป็นราคาที่พอไหว เพราะบางเกมถ้าซื้อแยกผ่านทาง ออนไลน์อาจจะอยู่ที่ 59.99 เหรียญ (ราว 2,XXX บาท) เลยก็เป็นได้ หรือเกิดเราไม่ชอบเกมที่ซื้อมามันก็เหมือนกับเสียเงินไปฟรีๆ ในทางกลับกัน GaaS ทำให้เหล่าเกมเมอร์สามารถจ่ายค่าบริการรายเดือนเล็กน้อยเพื่อแลกกับการได้เล่นเกมฟอร์มใหญ่ที่มีให้เลือกอย่างหลากหลาย
ส่วนผู้ให้บริการ GaaS เองก็ต้องเตรียมตัวพอสมควร ทั้งการเจรจาลิขสิทธิ์เกม และระบบการเชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ตที่ต้องเร็วมากพอ เพื่อจะดึงดูดใจเกมเมอร์ หรือการมีเกมใหม่ๆ เสริมเข้ามาเรื่อยๆ ก็จะเรียก ความสนใจจากคอเกมได้ดีทีเดียว
นอกจากนี้ระบบของผู้ให้บริการต้องอยู่ในระดับสูงพอที่จะประมวลผลเกมฟอร์มใหญ่ให้เล่นได้อย่างลื่นไหล เนื่องจาก GaaS เป็นรูปแบบบริการ Video Streaming ต้องมีการประมวลผลหลักอยู่ที่เครื่อง Server ก่อนจะส่งภาพและการประมวลผลทั้งหมดมายังเครื่องปลายทาง ผู้ให้บริการ GaaS จึงต้องมั่นใจ ก่อนว่าเครื่องที่จะใช้เพื่อให้บริการ GaaS มีประสิทธิภาพเหมาะสม
อย่างไรก็ดี GaaS Platform จะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับอินเตอร์เน็ตของทั้งผู้ให้และผู้ใช้บริการ ถ้าฝั่งไหนมีอินเตอร์เน็ตที่แรงไม่มากพอก็อาจจะเกิดปัญหาเรื่อง Latency หรือ “แล็ก” ขึ้นมาระหว่างการเล่นเกมได้
ถึงแม้อนาคตของ GaaS ดูจะสดใสและมีแนวโน้มการเติบโตที่รวดเร็ว ตราบเท่าที่ผู้ให้บริการ GaaS กับผู้ผลิตเกมยังมีการร่วมมือมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ยังต้องใช้เวลาอยู่บ้าง เพราะติดเรื่องของลิขสิทธิ์และการปรับแต่งตัวเกมให้เข้ากับระบบ Cloud นั่นเอง