IP-PBX

IP-PBX

IP (Internet Protocol) PBX (Private Branch Exchange)

          IP-PBX เป็นการรวมเทคโนโลยีของ ระบบโทรศัพท์พื้นฐาน ที่ใช้กันทั่วไปรวมเข้ากับระบบ Voice Over IP (VoIP) ทำให้ได้คุณสมบัติของระบบโทรศัพท์ ที่มีความสามารถมากขึ้น สามารถเชื่อมต่อสื่อสารกันได้กว้างขวางมากขึ้น โดยสามารถสื่อสารกันได้ทั้งบนระบบโทรศัพท์พื้นฐาน ที่มีอยู่และทางระบบ IP ได้พร้อมๆ กัน

คุณสมบัติที่ทาง IP PBX

มีอยู่คือ สามารถเชื่อมต่อกันผ่านทางระบบเครือข่ายหรือ IP ได้ ผู้ใช้สามารถเชื่อมเข้าระบบจากที่ใดก็ได้ที่มีระบบเครือข่าย หรือ Internet เชื่อมต่อถึง รวมถึงการประชุมทางเสียง โดยบวกกับความสามารถในการใช้งานอื่นๆ เช่น Voice Mail, Call Center และอื่นๆ

อุปกรณ์ IP-PBX ประกอบด้วยอะไรบ้าง

การใช้งานระบบ IP PBX จะมีอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องมาใช้ร่วมกัน โดยแต่ละส่วนก็จะมีหน้าที่หรือความสามารถต่างๆ กันออกไป โดยหลักๆ ก็จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

ส่วนที่เป็น Server

ทำหน้าที่คอยจัดการช่องทางการส่งข้อมูลเสียง เปรียบเทียบหมายเลข กับ IP Address โดยสามารถทำให้ระบบโทรศัพท์ โทรติดต่อกันได้ โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้ IP Address รวมถึง เป็นช่องทางในการเชื่อมต่อกับภายนอก (Trunk) เช่น SIP Proxy/SIP Server, GateKeeper, Asterisk Server และ IP-PBX Server

ส่วนที่เป็น Telephony Terminal

เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ ระบบเครือข่าย เพื่อรับข้อมูลเสียง โดยจะมีพอร์ต LAN สำหรับต่อเชื่อมกับ Switching Hub และมีพอร์ตสำหรับ ต่อเชื่อมกับเครื่องโทรศัพท์ปกติ ยกเว้น IP Phone ที่มีเครื่องโทรศัพท์ มาพร้อมในอุปกรณ์แล้ว

ATA (Analog Telephone Adaptor) หรือ เครื่องแปลงสัญญาณ VoIp ให้เป็นสัญญาณ Voice Analog โดยมากจะมีอย่างน้อย 1 LAN 1 FXS เพื่อเชื่อมเครื่องโทรศัพท์ เข้ากับระบบ VoIP IP-PBX

VoIP Gateway

คล้ายกับ ATA มาก แต่มีฟังก์ชั่นมากกว่า โดยสามารถต่อเชื่อมกันเองได้ โดยไม่ต้องอาศัย Server เข้ามาร่วม คือ สามารถกำหนด Dial Plan ได้บนตัวเอง เช่น หมายเลข 201 คือ IP 192.168.12.38, หมายเลข 301 คือ IP 192.168.13.38

IP Phone

เป็นอุปกรณ์ที่ นำระบบโทรศัพท์ มาร่วมอยู่ในตัวอุปกรณ์ สามารถใช้ทดแทนโทรศัพท์ เดิมได้ทันที

Softphone

โปรแกรมระบบโทรศัพท์ ต้องอาศัย Computer จำลองให้เป็นเครื่องโทรศัพท์ Analog Asterisk Card/ Digital Card เป็นช่องทางในการเชื่อมต่อระหว่างระบบ IP-PBX กับระบบ โทรศัพท์พื้นฐานทั่วไป โดยติดตั้งบนเครื่อง Server

ข้อดีของ IP PBX

  1. ติดตั้งงาน เพราะ IP PBX ทำงานบนระบบ Network ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเดินสายโทรศัพท์เพิ่มเติม และยังสามารถย้ายเครื่องโทรศัพท์ไปตำแหน่งใดก็ได้ที่อยู่บนระบบเครือข่ายเดิม ไม่ต้องเปลี่ยนค่า หรือตั้งค่าระบบใหม่ หากมีระบบ Wireless-Lan ก็สามารถเชื่อมต่อกับระบบ Wireless ที่มีอยู่ได้โดยง่าย
  2. สามารถเพิ่มโทรศัพท์ได้โดยง่าย เนื่องด้วยทำงานบนระบบ Network
  3. หากมีการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายเข้าด้วยกัน ไม่ว่าเครื่องโทรศัพท์จะอยู่ไหน ก็เสมือนว่าอยู่ในระบบโทรศัพท์เดียวกัน ทำให้การโทรศัพท์ได้โดยง่ายและไม่มีค่าใช้จ่าย
  4. รองรับ Vidio Call ทำให้เห็นภาพได้ทันที
  5. ด้วยเป็นระบบ Software จึงสามารถเพิ่ม Feature ได้ง่าย
  6. รองรับระบบ High Availability เพื่อลดเวลาในกรณีระบบมีปัญหา
  7. ลดค่าใช้จ่ายในการใช้โทรศัพท์